
อัตราค่าชาร์จรถไฟฟ้า ต้องจ่ายเงินเท่าไหร่ มาดูกัน
อัตราค่าชาร์จรถไฟฟ้า ต้องจ่ายเงินเท่าไหร่ มาดูกัน เมื่อก่อนจะตัดสินใจเปลี่ยนจากรถน้ำมันไปเป็นรถยนต์ไฟฟ้า เราต้องศึกษาข้อมูลต่าง ๆ มากมาย ดังนั้นหนึ่งในข้อที่เราควรรู้ก็คือ อัตราค่าชาร์จรถไฟฟ้า บทความนี้ ออโต้คาร์ เราจึงจะมาบอกให้ทุกท่านประเมินเบื้องต้นกัน
มาดูการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากันว่ามีกี่แบบ

- การชาร์จแบบธรรมดา การชาร์จไฟฟ้าจากตัวเต้ารับโดยตรง ขนาดมิเตอร์ขั้นต่ำที่แนะนำคือ 30 (100)A และเต้ารับต้องได้รับการติดตั้งใหม่ เฉพาะการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเท่านั้น โดยเป็นการใช้ไฟบ้านที่เป็นกระแสสลับ (AC) ที่ใช้ระยะเวลาในการชาร์จประมาณ 12-16 ชม. ไม่ควรใช้สายไฟขนาดปกติ เนื่องจากระหว่างการชาร์จอาจกินไฟเท่ากับแอร์ 18,000 BTU.
- การชาร์จแบบรวดเร็ว การชาร์จจากเครื่องชาร์จ EV Charger ตู้ชาร์จไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Charging) หรือพวก Wall Box Charge ของแต่ละค่ายที่แถมมาให้ สำหรับระยะเวลาในการชาร์จไฟผ่าน Wall Box Charge อยู่ที่ 6-8 ชั่วโมง แล้วแต่ขนาดของแบตฯ และการตั้งค่าสำหรับชาร์จ
- การชาร์จแบบเร่งด่วน การชาร์จไฟฟ้ากระแสตรง (DC Charging) ตรงเข้าแบตเตอรี่โดยตรง สามารถชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์พลังงานไฟฟ้า จาก 0-80% ในเวลา 40-60 นาที ค้นหาได้ตามสถานีบริการ โดยมีข้อคือแบตเตอรี่จะมีอุณหภูมิระหว่างการชาร์จสูงอย่างต่อเนื่อง ทำให้แบตเตอรี่เสื่อมสภาพเร็วมากกว่าการชาร์จแบบปกติ
การคำนวณอัตราค่าชาร์จรถไฟฟ้าสำหรับไฟบ้านต่อการเต็ม 1 ครั้ง

ก่อนอื่นนั้นเราต้องรู้ก่อนว่ารถยนต์ไฟฟ้าชาร์จสูงสุดที่ 7.4 kW แบตเตอรี่ความจุ 60 kW ระยะทางขับขี่ 350 กิโลเมตร ชาร์จไฟ 1 ชั่วโมงด้วยไฟบ้านปกติ เก็บพลังงานไฟฟ้าได้ 7.4 kW ถ้าชาร์จไฟจนเต็ม 60 kW จะใช้เวลาประมาณ 7-8 ชั่วโมง หากรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้ มีความจุแบตเตอรี่ 90 kWh ดังนั้นเมื่อค่าไฟฟ้าปัจจุบัน หน่วยละ 4.2 บาท 1 หน่วย = 1 kWh คิดค่าไฟฟ้า 1 kWh = 4.2 บาท รถยนต์ไฟฟ้าความจุแบตเตอรี่ 90 kWh เท่ากับค่าไฟ 90 หน่วย ถ้าชาร์จจาก 0-100% 90*4.2 อัตราค่าชาร์จรถไฟฟ้าจะเท่ากับ 378 ค่าใช้จ่ายเมื่อชาร์จไฟบ้านจะอยู่ที่ 378 บาท
ต่อมาหากเป็นรถไฟฟ้าที่มีแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนความจุอยู่ที่ 14.5kW ให้ระยะทางวิ่งสูงสุด 178 กิโลเมตร จะชาร์จไฟบ้านนาน 6-8 ชั่วโมง และวิ่งได้ 160 กิโลเมตร ดังนั้นอัตราค่าชาร์จรถไฟฟ้าอยู่ที่ 74 บาท

สำหรับรถไฟฟ้า ORA Good Cat รุ่น 400 PRO มีความจุแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนอยู่ที่ 47.788 kWh เมื่อชาร์จไฟจนเต็มด้วยไฟบ้านนาน 8 ชั่วโมง จะได้ระยะทางวิ่งจริง 370 กิโลเมตร ) ดังนั้นอัตราค่าชาร์จรถไฟฟ้าอยู่ที่ 315 บาท
และอัตราค่าชาร์จรถไฟฟ้าของ Volvo XC40 recharge pure electric มีแบตเตอรี่ Lithium-ion ความจุ 78 kWh ชาร์จเต็มขับจริงทำได้ 360 กิโลเมตร ระบบชาร์จเร็ว รองรับการอัดประจุไฟในสถานีชาร์จสูงสุดได้ 125 kwh เสียบชาร์จได้พลังงานไฟฟ้ามา 80% ในระยะเวลา 40 นาที ชาร์จไฟบ้านนาน 8 ชั่วโมง แบตเตอรี่เต็ม 100% คำนวณออกมาอัตราค่าชาร์จรถไฟฟ้าอยู่ที่ 510 บาท
ดังนั้นอัตราค่าชาร์จรถไฟฟ้าบอกเลยว่าถูกกว่าการจ่ายน้ำมันมากกว่า 50% เลยที่เดียว ดังนั้นแน่นอนว่าการจ่ายอาจจะถูก แต่อย่าลืมคำนวณค่าบำรุงรักษารถด้วย และแน่นอนความจริงรถไฟฟ้าคือรถพลังงานสะอาดที่เหมาะสมกับโลกยุคนี้มาก ๆ เพื่อช่วยรักษาโลกและสิ่งแสดล้อมอีกหนึ่งทางนั่นเอง