พวงมาลัยไฟฟ้าหรือพวงมาลัยเพาเวอร์ ที่เป็นตัวช่วยที่ดีที่สุดในการขับขี่

by autocar
พวงมาลัยไฟฟ้า

สำหรับพวงมาลัยไฟฟ้าที่ถูกออกแบบมา เพื่อการตอบสนองที่ดีขึ้นในการควบคุมการขับขี่ที่ดี เพราะพวงมาลัยนับเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ทำให้รถควบคุมได้อย่างง่ายดาย ในรถรุ่นใหม่ ๆ ที่ออกจำหน่ายสู่ตลาดได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบจากพวงมาลัยเพาเวอร์ มาเป็นพวงมาลัยไฟฟ้า ดังนั้น ออโต้คาร์ จะพาไปดูกันว่ากระบวนการทำงานของระบบพวงมาลัยไฟฟ้าเป็นอย่างไร

ความแตกต่างระหว่างพวงมาลัยไฟฟ้าและพวงมาลัยเพาเวอร์

พวงมาลัยเพาเวอร์ (Power steering system) คือ ระบบที่เข้ามาช่วยทดกำลังการหมุนพวงมาลัย ไปในทิศทางต่าง ๆ ให้เบาลงลดการใช้กำลังลง เพื่อประโยชน์ในการหักเลี้ยวในพื้นที่แคบ ๆ และความสะดวกสบายในการขับขี่ แบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้

1. พวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิก (Hydraulic Power Steering)

พวงมาลัยไฟฟ้า

ระบบนี้จะใช้ปั๊มไฮดรอลิกสร้างกำลังส่งไปกระปุกพวงมาลัยหรือแร็กพวงมาลัย เพื่อช่วยผ่อนแรงผู้ขับยามหักเลี้ยว โดยใช้แรงจากเครื่องยนต์หมุนผ่านสายพานมายังที่ปั๊มไฮดรอลิก 

ข้อดี มีความแม่นยำสูง สร้างความมั่นใจในยามเข้าโค้ง

ข้อเสีย เนื่องด้วยระบบใช้น้ำมันในการถ่ายทอดกำลังดังนั้นเมื่อซีล-ท่อทางชำรุดย่อมเกิดการรั่วซึม สำหรับข้อควรระวังอย่าหมุนพวงมาลัยจนสุด ค้างไว้นาน ๆ เนื่องจากจะทำให้น้ำมันเพาเวอร์มีความร้อนและแรงดันสูง จนอาจทำให้ระบบของพวงมาลัยเกิดความเสียหายได้

2. ระบบพวงมาลัยไฟฟ้า EPS (Electric Power Steering)

พวงมาลัยไฟฟ้า

เป็นระบบบังคับเลี้ยวที่ถูกควบคุมด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ทำหน้าที่ลดภาระของผู้ขับขี่เมื่อหมุนพวงมาลัย ซึ่งทำให้ผู้ขับขี่สามารถหมุนพวงมาลัยได้ง่ายขึ้น โดยใช้อุปกรณ์ควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ (ECU) หลักจะรับสัญญาณจากเซ็นเซอร์ต่าง ๆ เช่น เซ็นเซอร์ตรวจจับความเร็วและแรงบิด เพื่อควบคุมการทำงานของมอเตอร์ให้มีผลการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และให้แน่ใจว่ามีการจัดการที่ดีที่สุดและมั่นคงภายใต้ทุกสภาพการขับขี่

สำหรับการทำงานของพวงมาลัยรถยนต์เป็นฟังก์ชั่นที่ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนที่ของรถโดยตรง ระบบพวงมาลัยไฟฟ้าหรือ EPS จึงต้องมีความน่าเชื่อถือและแม่นยำต่อเนื่อง เพราะมีบทบาทสำคัญในการรองรับระบบการขับขี่และจำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการสำหรับการล้มเหลว เพื่อสามารถแก้ไขการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในกรณีที่เกิดความผิดปกติขึ้น

พวงมาลัยไฟฟ้า

ข้อดีของพวงมาลัยไฟฟ้า ไม่มีความเสี่ยงในการรั่วไหลของน้ำมันพาวเวอร์ ประหยัดเชื้อเพลิงได้มากขึ้นเนื่องจากกระแสไฟฟ้า EPS ได้รับจากแบตเตอรี่โดยตรง และการควบคุมหลักถูกส่งมาจากกล่องควบคุม (ECU) ของรถยนต์เข้ามาที่มอเตอร์ไฟฟ้า และยังมีการเชื่อมต่อจาก Speed Sensor เพื่อควบคุมความหนักเบาของพวงมาลัย ทำให้ไม่ต้องใช้การฉุดรอบจากเครื่องยนต์แบบพวงมาลัยระบบไฮดรอลิก และพวงมาลัยมีความนิ่งและรู้สึกมั่นใจขณะขับในความเร็วสูง

ข้อเสียของพวงมาลัยไฟฟ้า มีระยะฟรีและความแม่นยำน้อยกว่า ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิก

ข้อควรรู้พวงมาลัยหนักเกิดจากอะไร

พวงมาลัยไฟฟ้า

1. มอเตอร์ชำรุด เสียหาย (เฉพาะในรถที่ใช้พวงมาลัยไฟฟ้า) ให้สังเกตไฟเตือนรูปพวงมาลัยบนหน้าปัด

2. อุปกรณ์หรือชิ้นส่วนในระบบบังคับเลี้ยว เช่น ลูกหมาก ชำรุดเสียหาย

3. ลมอ่อน รถไม่ได้ศูนย์เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้พวงมาลัยหนักขึ้น

4. ระดับน้ำมันต่ำเกินไป ควรเติมให้อยู่ในระดับปกติและหมั่นตรวจสอบเสมอ

5. น้ำมันขาดจากการรั่วซึม ส่งผลให้น้ำมันไม่พอในระบบทำให้พวงมาลัยหนัก

6. ปั๊มไฮดรอลิกเสียหาย ส่วนใหญ่อาการนี้มักจะมาพร้อมกับเสียงหอน เสียงดัง

พวงมาลัยไฟฟ้า

ขอบคุณบทความดีๆ จาก ล็อตโต้สด

Leave a Comment