
การเช็กใบสั่งออนไลน์ จริงหรือปลอมเป็นอย่างไร
การเช็กใบสั่งออนไลน์ จริงหรือปลอมเป็นอย่างไร เพราะวิธีการเช็กสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเองก่อนจ่ายค่าปรับ หากไม่แน่ใจว่าใบสั่งที่ได้มานั้นเป็นของจริงหรือของปลอมโดยแก๊งมิจฉาชีพ ใครที่ยังไม่เคยโดนใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์ (e-Ticket) จะมีหน้าตาจะออกมาเป็นสลิปคล้ายใบเสร็จตามห้างสรรพสินค้า ดังนั้นวันนี้ออโต้คาร์เราจะมานำเสนอวิธีการเช็กกัน
ใบสั่งออนไลน์ปลอมจริงตรวจสอบอย่างไร

เพราะใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์หรือใบสั่งออนไลน์ จะมี QR Code ด้านล่างขวา โดยจะระบุข้อความข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถสแกนตรวจสอบใบสั่งของตัวเองผ่านเว็บไซต์ ptm.police.go.th เท่านั้น ดังนั้นก็ต้องลงทะเบียนการใช้งานก่อนเป็นอันดับแรก เมื่อหากไม่แน่ใจก็ให้เข้าไปที่หน้าเว็บไซต์โดยตรง ไม่ต้องสแกนจากนั้นแล้วลงทะเบียนและตรวจสอบข้อมูล
อีกหนึ่งจุดต้องสังเกต คือ วิธีการสแกนชำระเงินผ่าน QR Code ด้านซ้ายด้วย Mobile Banking จะขึ้นชื่อผู้รับโอน “สำนักงานตำรวจแห่งชาติ-ค่าปรับจราจร” เท่านั้น โดยยอดค่าปรับจะต้องแสดงตรงตามใบสั่งที่ไม่สามารถแก้ไขยอดได้
- ใบสั่งจราจรมีอยู่ 3 รูปแบบ ได้แก่ ใบสั่งชนิดเขียนด้วยลายมือ, ใบสั่งส่งทางไปรษณีย์ (ตรวจจับด้วยกล้อง), ใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์ (ใบสั่งออนไลน์ หรือ e-Ticket)
ใบสั่งออนไลน์คืออะไร

เป็นการออกใบสั่งผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาที่มีหลายรูปแบบ มีทั้งหน้าตาคล้ายเครื่องรูดบัตรเครดิตรุ่นใหม่และสมาร์ทโฟน โดยอุปกรณ์เหล่านี้ติดตั้งแอปพลิเคชัน Police Ticket Management (PTM) เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถออก และพิมพ์ใบสั่งจากตัวเครื่องได้ทันทีที่พบเห็นผู้กระทำผิดซึ่งหน้า
ใบสั่งออนไลน์จริงนั้นจะต้องมีข้อมูล ได้แก่ มีเลขที่ใบสั่ง เลขทะเบียนและประเภทรถ ข้อหาการกระทำผิด จำนวนค่าปรับตามเกณฑ์ที่กำหนด ระยะเวลาในการชำระค่าปรับ สถานที่กระทำผิด วันที่ เวลา หน่วยงาน และชื่อเจ้าหน้าที่ที่ออกใบสั่ง ไว้อย่างครบถ้วนชัดเจน หรืออาจรวมข้อมูลใบขับขี่กรณีพบตัวผู้กระทำผิด
สุดท้ายข้อมูลด้านล่างสุดของใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์จะมี QR Code เพื่อเป็นการชำระค่าปรับผ่านระบบ Mobile Banking ที่อยู่ฝั่งซ้าย เพื่อเพิ่มความสะดวก ส่วนด้านขวาเป็น QR Code ข้อมูลเพิ่มเติม เอาไว้เพื่อสำหรับสแกนตรวจสอบใบสั่งออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ ptm.police.go.th เท่านั้น
ใบสั่งออนไลน์จ่ายที่ไหนได้บ้าง

- สามารถสแกน QR Code ท้ายใบสั่งด้วย Mobile Banking จะระบุว่าชำระแก่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ-ค่าปรับจราจร เท่านั้น
- แอปพลิเคชัน Krungthai NEXT ต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชันมาติดตั้งบนสมาร์ทโฟนก่อน
- แอปพลิเคชัน เป๋าตัง (ต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชันมาติดตั้งบนสมาร์ทโฟนก่อน)
- ที่ทำการไปรษณีย์ไทย (มีค่าธรรมเนียมต่อรายการ 15 บาท)
- ตู้ ATM และตู้รับฝากเงินสด ADM (มีค่าธรรมเนียมต่อรายการ 15 บาท)
- จุดชำระเงิน CenPay เช่น ที่ห้าง Central, ห้าง Robinson, แฟมิลี่มาร์ท, Tops, ร้าน B2S, Power Buy, Super Sports, HomeWork และไทวัสดุ เป็นต้น (มีค่าธรรมเนียมต่อรายการ 15 บาท)
- ตู้บุญเติม (มีค่าธรรมเนียมต่อรายการ 20 บาท)
- สาขาทุกธนาคาร (มีค่าธรรมเนียมต่อรายการ 20 บาท)
- สถานที่ที่มีสัญลักษณ์ PTM ชำระค่าปรับจราจร
สรุป
สำหรับผู้ขับขี่รถทุกประเภทควรปฏิบัติตามกฎจราจร เมื่อโดนใบสั่งไม่ว่าจะรูปแบบใดก็ตาม ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าเราได้กระทำผิดจริงหรือไม่ เป็นใบสั่งออนไลน์ปลอมหรือของจริงก่อนชำระค่าปรับทุกครั้ง